โช้คอัพ ( Shock Absorber ) มอเตอร์ไซค์

นับเป็นเวลายาวนานที่รถจักรยานยนต์ อยู่คู่กับผู้บริโภคชาวไทย และร่วมเส้นทางไปในสถานที่ต่างๆ บนท้องถนนของเมืองไทย ที่แสนจะสะดวกสบายเต็มไปด้วยหลุมและบ่อ  โดยเฉพาะฝาท่อที่โผล่อยู่กลางถนน  รถมอเตอร์ไซค์เมืองไทยจึงถูกออกแบบ ให้สามารถเอาตัวรอดได้ ในระดับหนึ่ง  ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา กระแสการปรับแต่งรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานในลักษณะๆต่างๆได้ดียิ่งขึ้น กับอีกทางหนึ่งคือการตกแต่งเพื่อความเท่ ความหล่อบนท้องถนน จนกระทั่งบางคน อาจจะไม่เคยรู้ความแตกต่างของโช้คแต่ละแบบเลย วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะนำความรู้เกี่ยวกับระบบกันสะเทือนมาฝากกันครับ

โช้คอัพ มาจากคำว่า Shock Absorber  (ช็อค-อัพซอร์เบอร์)

เป็นตัวช่วยหน่วงเวลาไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนตัวเร็วเกินไป แต่อย่าเข้าใจผิดว่าใช้โช้คอัพรองรับน้ำหนักนะครับผู้ขับขี่รถบางคนอาจจะเข้าใจกันว่าโช้คมีไว้รองรับน้ำหนักรถ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์เลยครับ จริงๆแล้วตัวรับน้ำหนักและแรงกระเทกทั้งปวงคือสปริง แต่ในทางกลับกันถ้ารถคุณมีแต่สปริง พอเจอถนนขรุขระและหลุมบ่อรถคุณก็จะเด้งขึ้นเด้งลงตามค่า K ของสปริงกันจนมึนไปเลย Shock Absorber  จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อหน่วงไม่ใช้สปริงมีการเคลื่อนตัวได้เร็วนัก ในกรณีเวลาที่คุณต้องการเลือกโช้คอัพมาใส่รถต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าคุณต้องได้อย่างเสียอย่างเสมอ ถ้ารถคุณอยากได้โช้คนิ่ม มันจะหน่วงสปริงได้น้อย นั่งแล้วนิ่มตูดขึ้น แต่เวลาเข้าโค้งที่มีความเร็วถึงในระดับหนึ่งรถก็จะออกอาการ “ย้วย” ซึ่งเกิดจากการยุบตัวของโช้คแบบผิดที่ผิดเวลานั่นเอง  ซึ่งนั่นเกิดจากแรงเหวี่ยงจากศูนย์กลางมันมากดโช้ค  แต่ถ้าในกรณีที่คุณเลือกโช้คหนึบในโค้งความนิ่มก็จะหายไปรวมทั้งบนทางตรง เนื่องจากสปริงจะเคลื่อนที่ได้น้อยมาก แต่เวลาเข้าโค้ง หรือขับซิกแซก รุถคุณนิ่งอย่างแรงครับเพราะน้ำหนักกดลงไปถึงพื้นมีความสม่ำเสมอ โช้คอัพ เดิมทีคือการใช้น้ำมันในการหน่วงการทำงานของกลไก โดยน้ำมันนี้ จะบรรจุอยู่ในกระบอกโช้คเต็มกระบอกแท่งแกนโช้ค ( Piston rod ) ถูกสอดลงไปในกระบอก มีก้อนวาล์ว (Piston valve) อยู่ตรงปลายหลักการของมันคือ รูวาวล์จะต้านแรงดันน้ำมันในเวลารับแรงกดและแรงยืดกลับ  เวลาจังหวะโช้คยืดตัวขึ้น น้ำมันจากห้องบนจะต้องถูกดันให้หนีลงมาห้องล่าง แต่วาล์วที่กั้นห้องนั้น มีรูและซอกเล็กมากให้น้ำมันผ่านได้จำกัดมาก ทำให้น้ำมันผ่านได้ช้าลงผลก็คือเกิดการหน่วงไม่ให้ก้านสูบเลื่อนขึ้นเร็วเกินไป ในจังหวะโช้คกดตัวลงก็เช่นกันครับ น้ำมันจากห้องล่างจะพยายาม หนีขึ้นห้องบนเพราะโดนดัน วาล์วก็เป็นตัวหน่วงอีกเช่นกัน การไหลผ่านร่องวาล์วเล็กๆในกระบอกสูบ หนืดไม่หนืด ขึ้นอยู่กับขนาดวาล์วและการออกแบบ    ช่องทางเดินน้ำมันในวาล์วให้ใกล้เคียงกับความต้องการการใช้งานมากที่สุด
 
ลักษณะพิเศษของโช้คแก้ส

โช้คแก้ส มันคือการขึ้นพัฒนาจากโช้คที่มีองค์ประกอบที่มีอยู่แล้ว มาสร้างห้องพิเศษไว้ห้องหนึ่งแล้วอัดแก้สไนโตรเจนลงไป มีจุดประสงค์หลักคือทำให้มีแรงดันเพิ่มขึ้น ฟองอากาศที่จะเกิดในน้ำมันซึ่งเป็นปัญหาเดิมจะลดลง เนื่องจากเวลาโช้คทำงานปกติบนถนนโช้คมีการขยับขึ้นลงมากกว่า 10 ครั้งต่อวินาทีพร้อมกับความร้อนซึ่งเกิดจากการเสียดสีเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำมันเกิดฟองอากาศประเด็นสำคัญ สิ่งที่เรียกว่าโช้คน้ำมันกึ่งแก้สนั้นหลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นการอัดเฉพาะแก้สเข้าไปเต็มๆ  นั่นเป็นความเข้าใจผิดครับโช้คแก้ส ก็ยังใช้น้ำมันในการไหลผ่านวาล์วเหมือนเดิม แก้สไม่เกี่ยวเลยแต่แรงดันจากแก้สนี้จะสร้างแรงดันซึ่งมีผลไปสู่ฟองอากาศให้ลอยตัวเร็วมากขึ้นไม่เข้ามาพัวพันอยู่กับแกน และซีลโช้ค ซึ่งเป็นตัวการที่เกิดการสะดุดขณะที่โช้คทำงานดังนั้น ขอให้เข้าใจกันใหม่ด้วยนะครับ ว่าโช้คนั้นมีแค่เป็นน้ำมันล้วน กับแบบเอาแก้สมาอัดช่วยดันห้องล่าง แค่นั้น โช้คแก้สเปล่าๆไม่มีแน่นอนครับ  ในการออกแบบ้องแยกแก้สนั้น ในอดีต มีถูกออกแบบให้เป็นเหมือนกับเสื้อสูบซึ่งมีลูกสูบหรือจะเรียกว่าผนังกั้นก็ไม่น่าจะผิด เป็นตัวกั้นระหว่างแก็สกับน้ำมัน มันจะทำงานรับแรงดันขึ้นลงเหมือนลูกสูบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ จะเกิดความร้อนสะสมในตัวกระบอก ผู้ผลิตรุ่นใหม่จึงหันมาพัฒนาห้องแยกแก้สใหม่ ด้วยวัสดุยางสังเคราะห์เนื้อพิเศษ ซึ่งทำงานคล้ายๆกับเตียงน้ำไม่มีการเสียดสีกับวัตถุอื่นจึงไม่เกิดความร้อนจึงทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า
 
ข้อสังเกตุสำคัญว่าโช้คของคุณเป็นน้ำมันหรือแก้ส

ก็สามารถทำได้ไม่ยาก  เริ่มจาการถอดสปริงออกจากโช้ค แล้วลองวางตั้งกับพื้นนะครับ เอามือกดโช้คลงไปจนสุด แล้วปล่อย ถ้าเป็นโช้คน้ำมัน มันจะจมอยู่เช่นนั้น แต่ถ้าเป็นโช้คที่มีแก้สอยู่ด้วย มันจะค่อยๆยืดขึ้นมาเองช้าๆจนสุด สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ เพราะมีห้องแก้สอยู่ช่วยดันให้น้ำมันในห้องล่างดันลูกสูบขึ้นไปในตำแหน่งปกติ

ความหนืดในกระบอกโช้ค

ความหนืดของโช้คอัพ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์วที่ลูกสูบเท่านั้น อยู่ที่ว่าโช้คตัวนั้นจะถูกปรับเซ็ทค่าโช้คมาพอดี และลงตัวแค่ไหน ไม่จำเป็นว่าต้องมีออฟชั่นมากแค่ไหน ถ้าคุณเปลี่ยนโช้คไปเป็นแก้ส ก็มั่นใจได้อย่าง ว่ามันแข็งขึ้นแหงๆครับ ถ้าวาล์วถูกออกแบบมาเหมือนกัน แต่ในทางกลับกันคือ เมื่อโช้คแก้สถูกใช้ในการทำงานประเภทที่ต้องโดนเค้นประสิทธิภาพสุดๆ มันจะคงความเสถียรมากกว่า  ซึ่งหมายถึงมันคงสภาพการใช้งานหนักเป็นเวลานานนั่นเอง  และเมื่อถึงกรณีนี้ จึงมีตัวช่วยของโช้คอัพเสริมขึ้นมา อย่างที่นักเลงขาซิ่งมอเตอร์ไซค์เขาเรียกกันว่า “ตัวปรับหนืด” (Rebound Adjuster) ซึ่งเจ้าตัวนี้จะทำงานโดยการปรับรูทางผ่านของน้ำมันใน  Piston Valve  ทำให้จากเดิมเป็นถนนสามเลน มีไฟกิ่งส่องสว่างไสว โดนบีบเหลืออยู่เลนเดียวเปิดไฟสลับดวง  ผลก็คือ การจราจรย่อมเดินทางยากขึ้น อุปกรณ์นี้ จะถูกเสริมเมื่อผู้ขั่บขี่ต้องการความเที่ยงตรงให้เหมาะสมกับการงานมากที่สุด เช่นเดียวกับสปริง ที่จะมีตัว “สตรัทปรับเกลียว” (Spring preload Adjuster) ซึ่งจะช่วยในการหาความแข็งของปริง ที่จะรับกับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างเหมาะสม
 
ขอบคุณข้อมูลจาก mocyc.com  , jrmotor.com

นึกถึงโช๊คมอเตอร์ไซค์ดีๆ นึกถึง http://www.shaferthai.com

ติดต่อสั่งซื้อ

บริษัท แชฟเฟอร์ โมอินเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
เลขที่ 270/89 หมู่ 10 ต.บางปลา
อ.บางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ 10540
Phone Office: 02-106-2801
Fax : 02-106-2802
Mobile : 061-396-2455