“โช๊คอัพ” มาจากคำว่า Shock Absorber (ช็อค – อัพซอร์เบอร์) และมาทำความข้าใจกันก่อนครับว่าโช๊คอัพไม่ได้เป็นตัวรองรับน้ำหนักนะครับเพราะหลายคนเข้าใจกันเป็นเป็นเช่นนั้น แต่!!! จริงๆ แล้วส่วนที่รองรับน้ำหนักมอเตอร์ไซค์นั่นก็คือ สปริง ดังนั่นการทำงานของมันก็คือ การทำงานควบคู่ไปกับกระบอกโช๊คอัพที่มีสปริงและน้ำมันอยู่ด้านใน และที่ต้องมีน้ำมันก็เพื่อเป็นตัวหน่วงไม่ให้สปริงมีการเคลื่อนที่เร็มมากจนเกินไป
ทีนี้ก็รู้จักโช๊คอัพกันไปพอสมควรแล้วมาดูวิธีการเลือกกันต่อเลย สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเลยควรดูว่าแกนโช๊คอัพที่เรากำลังจะซื้อนี้ได้เคลือบผิว ฮาร์ดโครม มาหรือไม่ เพราะแกนโช้คอัพเป็นส่วนที่มีการเสียดสีมากที่สุดไม่สามารถนับได้เลยว่ามีการเสียดสี ขึ้นลง จำนวนกี่ครั้งเพราะรถจักรยานยนต์ของเราต้องเคลื่อนอยู่ตลอดเวลาในการขับขี่ ซึ่งถ้าเราดูด้วยสายตาตัวเองสามารถสังเกตุได้ว่าโช๊คอัพตัวนี้ถ้ามีการเคลือบผิว ฮาร์ดโครม และผ่านการเจียละเอียดในระดับ 0.04 ไมครอน ผิวของแกนโช๊คจะมีความเงาและจะไม่มีรอยขีดข่วนเล็กๆ บนผิวของแกนโช๊คอัพ
ในส่วนต่อมาเป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งเพราะอาจจะรั่ว ซึม ได้ง่ายมากถ้าไม่ใช้วัสดุในก็ผลิตที่มีคุณภาพสูง นั่นก็คือซีลน้ำมัน เพราะถ้าเกิดซีลน้ำมันรั่ว การหน่วงของโช๊คอัพก็จะลดลง ประสิทธิภาพทุกอย่างของโช๊คอัพตัวนั้นจะลดลงไปทันที ดังนั้นควรดูซีลน้ำมันโช๊คอัพให้ดี ว่ามีการรั่ว ซึม ออกมาหรือไม่
และน้ำมันไฮดรอลิคที่อยู่ภายในกระบอกโช๊คอัพ ควรจะใช้น้ำมันที่มีสารลดแรงเสียดสีเพราะน้ำมันไฮดรอลิคที่อยู่ภายในก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย เพราะเป็นส่วนช่วยลดแรงเสียดสีระหว่างแกนโช๊คกับซีลน้ำมันและเมื่อโช๊คอัพผ่านการทำงานมาหนักๆ น้ำมันที่อยู่ภายในกระบอกโช๊คจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ความหนืดของน้ำมันที่อยู่ภายในจะต้องไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิและที่ขาดไม่ได้ของน้ำมันไฮดรอลิคที่อยู่ภายในคือ ต้องมีสารป้องกันการรวมตัวระหว่างน้ำมันกับอ๊อกซิเจนซึ่งเมื่อทั้งสองตัวนี้ รวมตัวกันแล้วจะทำให้เกิดการกร่อนของผิวโลหะ และจะทำให้โลหะที่ถูกกร่อนไปอุดตันรูลูกสูบและวาล์วต่างๆ ที่อยู่ภายในกระบอกโช๊คอัพได้
ขอบคุณข้อมูลจาก motorwork.co.th
นึกถึงโช็คมอเตอร์ไซค์ดีๆ นึกถึง http://www.shaferthail.com